
Home
About us
News and Events
Research
Facilities
Publications
Awards
Curriculums
eLearning
Staff
Alumni
Service
Shop
Webboard
Download
Contact us
New Homepage
|
Home | Faculty of Science | Mahidol University | FAQs | Members | ภาษาไทย

Department of Biology Webboard |
|
[Reload] [Recent]
[Post] [Reply]
|
| ค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน พสวท. ครั้งที่ 22 ป.ตรี ปี 1-2 24-28 มี.ค. 2551 คณะวิทย์ จุฬา
Detail: สสวท.และคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์ฯ จัดค่ายวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 22 สำหรับนักศึกษาพสวท. ระดับป.ตรี ชั้นปีที่ 1 และ 2 ระหว่างวันที่ 24-28 มีนาคม 2551 นี้
หลากมิติคิด สังคม-ชุมชน กับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
By: Webmaster March 6, 2008 07:10
Message 1: อาจารย์ท่านใดจำนวนสองท่าน ที่เป็นอาจารย์ตัวแทนศูนย์ครับ
By: CTK March 6, 2008 14:10
Message 2: ตามหนังสือที่แจ้งมา จะเป็นอ.ชีวะหนึ่งท่านและอ.เคมีอีกหนึ่งท่าน นักศึกษาจากศูนย์ม.มหิดล 25 คน
ในกำหนดการจะได้ไป Siam Ocean World และ Siam Paragon เข้าใจว่าทางเจ้าภาพคงคิดหนักว่าจะให้ไปดูงานที่ไหน 
By: Webmaster March 6, 2008 14:19
Message 3: ล่าสุดนี้ เข้าใจว่าจะไม่ไป Siam Ocean World แล้วเพราะไม่ได้ส่วนลดค่าเข้าชม วงในแจ้งว่าจะพาไปดูหนังที่ IMAX แทนครับ ส่วนที่ทัศนศึกษาจะมีการแบ่งกลุ่มออกไปดูหลายๆที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 
By: Webmaster March 11, 2008 00:00
Message 4: ตอนนี้มีระเบียบการของค่าย หรือตารางเวลากิจกรรมออกมาเรียบร้อยหรือยังครับ แล้วครั้งนี้คือไปที่จุฬาเลย หรือมารวมกลุ่มกันที่คณะก่อนครับ
By: CTK March 11, 2008 20:48
Message 5: กำหนดการมีดังนี้ครับ
ส่วนการไปรายงานตัวเข้าที่พักนั้น งานการศึกษายังไม่ได้ประชาสัมพันธ์มา
By: Webmaster March 12, 2008 10:49
Message 6: นักศึกษาม.มหิดลไปรายงานตัวกันเองตามอัธยาศัย (ไม่มีรถจากคณะวิทย์ไป) ที่อาคารมหามกุฎ ภายในเวลา 0830 ซึ่งจะมีอาหารเช้า และที่ให้เก็บสัมภาระทั้งหลาย แล้วจะเข้าพิธิเปิดที่นั่น
ตอนเย็นนักศึกษาจะถูกพาไปที่พัก เข้าใจว่าบังคับอยู่ในหอพักของค่ายตลอดนะครับ
By: Webmaster March 24, 2008 07:01
Message 7: ได้ไปดูงานโรงกำจัดสิ่งปฏิกูลครับ เกือบเอาชีวิตไม่รอด -_-
แต่เด็กพสวท.นี่น่านับถือมาก เห็นเหม็นกันมากมาย แต่พอรถสูบส้วมมากลับวิ่งเข้าหา และก็ถามวิทยากรกันแบบไม่ยอมจะเลิก (หิวแล้วอยากกลับมาทานข้าว)
By: Webmaster March 25, 2008 23:09
Message 8: ค่ายวันที่สามไปปลูกป่าชายเลนกันมา
ส่วนที่จมลงไปในโคลนแปรผันตรงกับน้ำหนัก ทำให้...
กล้องผมมีสภาพเป็นเช่นนี้ ส่วนเจ้าของกล้องคงไม่ต้องพูดถึง
By: Webmaster March 26, 2008 21:54
Message 9: โอ๊ะโอ
By: ระพี March 26, 2008 22:21
Message 10: น่าจะสนุก
By: March 27, 2008 14:01
Message 11: จากประสบการณ์ของการย่ำเลนที่อ่าวน้ำบ่อ จังหวัดภูเก็ต
ตัวผมลงไปไม่ลึกเท่าไหร่นะครับ
ยกเว้นก็ตอนช่วงที่เดินลุยป่าชายเลน ที่ล่อไปครึ่งตัว (คือผมเดินลุยตั้งแต่ป่าชายเลนเข้าไปจนถึง Mudflat เพื่อเก็บตัวอย่างมา identify อีกที)
แต่พอเป็น Mudflat ที่ดินเริ่มแข็งหน่อยก็ไม่จม แต่ลื่นมากมาย -*-
ที่ไปเดินๆ นั่นมีหญ้าทะเลมั่งมั้ยครับ? ได้เจอกองทัพปูแสมกันรึเปล่า? มีซากแมงกะพรุนลอยมาเกยตื้นมั่งมั้ยครับ? น้องๆ ได้ลองเอามือขุดๆๆๆๆ ลงไปในดินกันรึเปลาอ่ะ? ข้างใต้นั่นสิ่งมีชีวิตเพียบเลย
By: Halley March 27, 2008 15:00
Message 12: ภาพหมู่
เจ้าภาพฝากมาใน CD เลยมีภาพมาให้ดูกัน แต่ชาวค่ายได้ print กันไปแล้ว
ตอบฮัลเลย์..โคลนที่นี่เนื้อละเอียดมาก คนธรรมดาก็จมได้ ถ้ายืนอยู่กับที่เพื่อถ่ายภาพก็จะค่อยๆจม ต้องเคลื่อนที่ไว้ก็จะไม่จมมาก แต่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ แรงก็หมด พอเหนื่อยก็อยู่กับที่ แล้วพออยู่กับที่ก็..จม
หญ้าทะเลไม่มีใครพูดถึง แต่คงจะไม่มีเพราะตะกอนเยอะมาก กองทัพปูไม่มี ซากแมงกะพรุนไม่มีให้เห็น แต่ไม่ต้องขุดก็เห็นหอย เหยียบลงไปก็เจอ นักศึกษาบางคนโดยหอยบาด หรือเพรียงบาดมาเป็นแผลยาวกลับมา
By: Webmaster March 28, 2008 19:50
Message 13: ภาพรวมทุกศูนย์
ได้สภาพ overcast พอดีไม่มีเงาดำ แต่ร้อนสุดๆ (เวลาที่ถ่ายภาพประมาณ 1300) ก่อนเดินทางไปเคารพพระศพฯพระพี่นางฯ
By: Webmaster March 28, 2008 19:52
Message 14: โฮ่...มีเพรียงด้วย!
By: Halley March 28, 2008 22:25
Message 15: อยากเป็น เดะ พส
By: PY March 31, 2008 16:46
Message 16: ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าเพรียงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การปลูกต้นไม้ป่าชายเลนไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ให้ใครไปวิจัยก็ยังตอบคำถามนี้แบบเด็ดๆไม่ได้ ฮัลเลยมีสมมติฐานไหม
By: Webmaster March 31, 2008 18:31
Message 17: เพิ่งรู้นะครับเนี่ย โฮ่ แปลกดี
ปกติพวก borer ทั้งหลายชอบขุดๆ เจาะๆ hard substrate อะครับ
พวกรากค้ำจุนของไม้ชายเลนก็เจอหอยสองฝากับเพรียงมา settle ได้เหมือนกัน
เป็นไปได้มั้ยครับว่าพวกเพรียงหรือ borer อื่นๆ มาขุดมาเจาะมาตั้งรกรากกล้าไม้ (หรือต้นที่อ่อนๆ อยู่ ยังไม่มี secondary growth เยอะเท่าไหร่) ที่เปลือกยังไม่หนาพอ ทำให้ไปกระทบเนื้อเยื่อลำเลียงของต้นไม้ (คือถ้าเปลือกไม้หนาๆ การขุดลงไปเพียงนิดเดียวไม่น่าจะสะเทือนถึงพวกเนื้อเยื่อลำเลียง)
By: Halley March 31, 2008 20:12
Message 18: ผมก็ไม่ทราบ ถ้าเอาตามผู้ใหญ่บอกมา ซึ่งคงมีผลงานวิจัยด้วยบางส่วน เพราะโครงการแถบนี้ได้รับการสนับสนุนจากสกว.
คือถ้าเป็นโกงกาง ซึ่งมีรากค้ำจุนจะเอนล้ม และตายได้ง่ายเมื่อคลื่นแรงซึ่งเกิดจากการเอาโกงกางไปปลูกบริเวณไกลสุด ที่ไม่มีอะไรมาเป็นตัวลดแรงของคลื่น ระดับน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุดที่อาจท่วมต้นเตี้ยๆเป็นวัน และการเกาะของเพรียงซึ่งทำให้หนัก และล้มเพราะรากค้ำจุนยังไม่แข็งแรง หรือยึดโคลนได้ดีพอ
ตอนนี้เปลี่ยนพืชที่ปลูกไกลสุดเป็นลำพู เพราะพบว่าลำพูสามารถสลัดเปลือกชั้นนอกสุดที่เพรียงเกาะจนหนักมากๆได้ทิ้งไป และยังรอดอยู่ได้ เลยเปลี่ยนเอาลำพูนำไปก่อน ส่วนโกงกางก็มาปลูกด้านใน
ที่บ้านของผู้ใหญ่มีรายงานงานวิจัยเป็นตั้ง ซึ่งมีเล่มที่ภาษาอังกฤษมากกับน้อย ผู้ใหญ่ก็อ่านๆเอามาบอกกับชาวบ้านและนักท่องเที่ยวหรือคนที่มาปลูกป่าชายเลน
เรื่อง borer นี่ไม่มีใครพูดถึง คงต้องไปดูผลของการศึกษาว่าเกี่ยวไหม แต่เพรียงคงไม่ได้มีผลมากกับการทำลายเนื้อไม้นัก
By: Webmaster April 1, 2008 01:07
Message 19: สรุปปลูกโดยไม่คิดถึง Zonation น่ะเอง
สมควรละ -*-
By: Halley April 1, 2008 16:01
Message 20: ในวิชาพวก Envi Eco Taxo ภาควิชาน่าจะจัดไปทัศนศึกษาแถวนี้นะครับ คงได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย รู้สึกไปค่ายนี้กลับมายังได้ความรู้ตรงนี้ไม่เต็มอิ่ม เพราะเวลาแค่วันเดียว
By: CTK April 2, 2008 22:05
|
[Back to top...] |
Post Reply to this Topic
 |
Special Tags:
Bold = [b]Bold[/b]
Gallus gallus domesticus = [i]Gallus gallus domesticus[/i]
WARNING! = [font color=#FF0000]WARNING![/font]
http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi = [url]http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi[/url]
scnop@mahidol.ac.th = [email]scnop@mahidol.ac.th[/email]
= //Angry
= //Grin
= //Kidding
= //Laugh
= //Sad
= //Wow
= //Smile
= //Cool
= //Huh
= :-D
Insert picture [img]http://www.somewhere.com/somefile.jpg[/img]
|
 |
 |
Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University
Rama VI Road, Rachadhavi, Bangkok 10400 Thailand
Tel. (+66) 2201-5250 Fax. (+66) 2354-7161
Webmaster: scnop@mahidol.ac.th
|
 |
|
|