
Home
About us
News and Events
Research
Facilities
Publications
Awards
Curriculums
eLearning
Staff
Alumni
Service
Shop
Webboard
Download
Contact us
New Homepage
|
Home | Faculty of Science | Mahidol University | FAQs | Members | ภาษาไทย

Department of Biology Webboard |
|
[Reload] [Recent]
[Post] [Reply]
|
| ปฏิบัติการชีววิทยา -- พฤติกรรมสัตว์ (2552)
Detail: ปฏิบัติการชีววิทยาในสัปดาห์นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ ซึ่งเป็นปฏิบัติการชุดใหญ่ ที่นักศึกษาในหลายกลุ่มต่างก็ต้องมาทำปฏิบัติการนี้ตลอดสัปดาห์
หลักการและเหตุผลนี้ มีเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ ในเชิงวิทยาศาสตร์ ที่สามารถวัดและนับได้ พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลด้วยคณิตศาสตร์
เชิญชมภาพกิจกรรมของนักศึกษา และของสิ่งมีชีวิตที่นำใช้ในปฏิบัติการนี้ อาจมีภาพไม่เหมาะสมบางส่วนครับ (ปลาตาย -_- )
ไรน้ำเค็ม (Artemia)
สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษา คือไรน้ำเค็ม ซึ่งมีพฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิดเรียก ventral light reaction หรือการจัดระเบียบร่างกายให้ส่วนท้องตั้งฉากกับแหล่งกำเนิดแสง ในธรรมชาตินั้น พวกมันกินแพลงก์ตอนจากผิวน้ำ และในเมื่อปากอยู่ด้านท้อง วิธีหนึ่งที่ทำให้กินอาหารที่ลอยอยู่บนผิวน้ำได้สะดวก คือการตีกรรเชียงว่ายน้ำหงายท้อง
ตัวอย่างอื่นๆ เช่นไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นสัตว์น้ำจืด แมลงมวนวน (backswimmer) ซึ่งอยู่ในอันดับของมวน อยู่ในสกุล Notonecta ในขณะที่สัตว์บกเองก็มีพฤติกรรมเช่นนี้ได้
การทดลองศึกษาการวางตัวต่อทิศของแสงในไรน้ำเค็ม
ไรน้ำเค็มจะอยู่ในบีกเกอร์ที่พันโดยรอบด้วยกระดาษสีดำ และใช้ไฟฉายเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งกินไฟมาก และไม่สว่างเท่าไหร่ จึงมีนักศึกษาไปนั่งทดลองใต้โต๊ะที่ทำปฏิบัติการ หรือใช้ไฟจากโทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งกำเนิดแสงแทน
ปลาสอด
การศึกษาพฤติกรรมในปลาสอดและปลาหางนกยูงเป็นอีกปฏิบัติการหนึ่งในวันนี้ ซึ่งอยู่ในวงศ์ Poecillidae แต่ต่างสกุลกัน โดยปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters, 1859 ในขณะที่ปลาสอดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Xiphophorus helleri Heckel, 1845
การศึกษาพฤติกรรมปลาหางนกยูง
นักศึกษาจะเฝ้าดูพฤติกรรมต่างๆ เพื่อนำมาสร้างสารานุกรมแสดงพฤติกรรมของสัตว์ (ethogram) แล้วใช้ข้อมูลในสารานุกรมที่สร้างนี้ ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของปลา โดยแยกพฤติกรรมที่ต่อเนื่อง ออกเป็นหน่วยของพฤติกรรม (action pattern) ที่ต่อเนื่องกัน
ลำดับของพฤติกรรมจะถูกแปลงเป็นตารางแสดงความถี่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แล้วนำมาสร้างเป็นแผนผังแสดงความถี่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
ปลาหางนกยูงที่ลาโลกไปแล้ว
ปลาบางตัวไม่สามารถทนต่อสภาพที่ร้อนอบอ้าวได้ ตัวที่รอดมาได้ อาจได้บ้านใหม่ และออกลูกออกหลานต่อไป
By: อ.โจ้ August 31, 2009 22:21
Message 1: ทำในรายงาน ผิดนิดหน่อยอ่าค่ะ ^^
By: palmay August 31, 2009 22:46
Message 2: R.I.P.
อย่างน้อยมันก็ได้ตายในหน้าที่...
By: Halley September 1, 2009 07:40
Message 3: เป็นแลปที่สนุกดีครับ ^_^
สงสัยว่าทำไมอาร์ทีเมียมันตายเรียบยกบีกเกอร์เร็วมาก (น้องบางกลุ่มยังไม่ทันได้ส่องไฟเลย)
ใส่น้ำจืดหรือน้ำเค็มอ่ะครับ?
ปล.อจ.โจ้มีเซ็นเซอร์บัตรนศ.ในรูปด้วย ปกป้องสิทธิ์นศ.ขนาดนี้รูปที่มีหน้าน่าจะคาดตาดำด้วยนะครับ อิอิ
By: SM September 1, 2009 11:30
Message 4: เอ๊..ถาพที่4
หน้าคุ้นๆน่ะ แหะๆ
น่าสงสารปลา..(ทนพิษบาดแผลไม่ไหว)
ร้อนจัด..
By: ปลาน้อยน่ารัก September 3, 2009 01:46
Message 5: มีลูกปลาสอดเกิดใหม่ในแล็บด้วยครับ เป็นการบันทึกได้ครั้งแรกในการจัดแล็บนี้เลยทีเดียว
ปลาสอดออกลูกเป็นตัว เช่นเดียวกับปลาหางนกยูงที่นำมาใช้ในปฏิบัติการนี้
By: อ.โจ้ September 3, 2009 07:03
Message 6: นักศึกษาสามารถทำแบบฝึกหัดสำหรับปฏิบัติการนี้ได้ที่ http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBIO_Webboard.php?TopicID=1415&Action=ViewTopic&Lang=Eng
By: อ.โจ้ September 7, 2009 15:47
Message 7: โหวตตั้งชื่อลูกปลาสอดสิครับอ.โจ้ :D
ผมเสนอชื่อ...น้องแล็บ
By: Halley September 7, 2009 06:07
Message 8: สาบสูญไปหมดแล้วครับ ไม่เหลือให้เล่นแล้ว -_-
By: อ.โจ้ September 7, 2009 10:55
Message 9:
By: June 18, 2011 15:36
|
[Back to top...] |
Post Reply to this Topic
 |
Special Tags:
Bold = [b]Bold[/b]
Gallus gallus domesticus = [i]Gallus gallus domesticus[/i]
WARNING! = [font color=#FF0000]WARNING![/font]
http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi = [url]http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi[/url]
scnop@mahidol.ac.th = [email]scnop@mahidol.ac.th[/email]
= //Angry
= //Grin
= //Kidding
= //Laugh
= //Sad
= //Wow
= //Smile
= //Cool
= //Huh
= :-D
Insert picture [img]http://www.somewhere.com/somefile.jpg[/img]
|
 |
 |
Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University
Rama VI Road, Rachadhavi, Bangkok 10400 Thailand
Tel. (+66) 2201-5250 Fax. (+66) 2354-7161
Webmaster: scnop@mahidol.ac.th
|
 |
|
|