Home
About us
News and Events
Research
Facilities
Publications
Awards
Curriculums
eLearning
Staff
Alumni
Service
Shop
Webboard
Download
Contact us
New Homepage
Home | Faculty of Science | Mahidol University | FAQs | Members | ภาษาไทย
Department of Biology Webboard
[Reload ] [Recent ]
[Post ] [Reply ]
รับสมัครอาสาสมัครนับเหยี่ยวอพยพ เขาเรดาห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
Detail: อ้างอิงจาก: ที่นี่
----------------------------------------------------------------
ปีพ.ศ. 2552 กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีจะดำเนินการนับเหยี่ยวอพยพตลอดฤดูกาลอพยพ ต้นหนาว (autumn) เช่น ปีนี้ ซึ่งเป็นปีแรก ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น และใกล้เคียง ความเป็นจริง ในแง่ชนิดและจำนวนของเหยี่ยวอพยพแต่ละชนิด ดูผลการนับเหยี่ยวอพยพตลอดฤดูกาล โดยจตุพล สวัสดี อาสาสมัครนับเหยี่ยวปีนี้ที่ลิงค์
นี้
ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบและสรุปแนวโน้มต่างๆ ของเหยี่ยวอพยพ ต้องการรับอาสาสมัครนับเหยี่ยวอพยพ จำนวน 1 คน รับผิดชอบนับเหยี่ยวอพยพ บนลานนับเหยี่ยวเขาเรดาห์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นระยะเวลา 51 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ถึง 8 พ.ย. 2552 (วันที่มีฝนตกเกิน 3 ชม. จะเป็นวันพักผ่อนของอาสาสมัคร) และจะมีผู้ช่วยจำแนกและนับเหยี่ยวอพยพในวันหยุดสุดสัปดาห์ ตลอดฤดูกาล
คุณสมบัติ
- นิสิตหรือนักศึกษา ระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโท
- สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการจำแนกชนิดเหยี่ยวอพยพ
- มีความอุตสาหะและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สุขภาพแข็งแรงอย่างมาก
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น Microsoft Office อย่างชำนาญ
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
1. เบี้ยเลี้ยง (แบบเหมาจ่าย) วันละ 300 บาท
2. กล้องดูนก ประเภท Roof Prism ขนาด 8x42 จำนวน 1 ตัว มอบให้เป็นรางวัล
3. กลุ่มฯ มีกล้องสโคปไว้ให้ใช้ตลอดฤดูกาลนับเหยี่ยว
4. รับทุน International Student Grant เดินทางไปนำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับนกล่าเหยื่อ ในการประชุมวิชาการของเครือข่ายวิจัยและอนุรักษ์นกล่าเหยื่อภาคพื้นเอเชีย (Asia Raptor Research and Conservation Network: ARRCN) ณ ประเทศมองโกเลีย ในปี 2553 เดือนมิถุนายน
สำหรับทุนนี้ กลุ่มฯ จะดำเนินการขอสำหรับประเทศไทย 2-3 ทุน จาก ARRCN โดยกำหนดตัวบุคคลสำหรับ 1 ทุนแล้ว คืออาสาสมัครนับเหยี่ยวอพยพฤดุกาลที่ผ่านมา
5. รับการเสนอชื่อเพื่อพิจารณารับทุน International Internship เพื่อฝึกการนับเหยี่ยวและวิจัยเกี่ยว กับเหยี่ยวอพยพในทวีปอเมริกาเหนือ ของ Hawk Mountain Sanctuary รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐฯ เป็นเวลา 4 เดือน โดยกลุ่มฯ จะรับรองในฐานะเป็นผู้สมัครของกลุ่มฯ
6. ประสบการณ์และทักษะในการจำแนกชนิดเหยี่ยวอพยพ
สนใจติดต่อ อ.ไชยยันต์ คณะสัตวแพทยศาสตาร์ ม.เกษตรศาสตร์
ที่ trogon@gmail.com
ถ้าไม่สามารถอาสาสมัครได้ตลอด เป็นบางช่วงก็ได้ครับ มาคุยกันก่อน
By: SM August 13, 2009 19:08
Message 1: ^ ของแถมน่าสนใจ แต่สุขภาพแข็งแรงอย่างมากนี่มันต้องแข็งแรงระดับไหน เด็กมหิดลอาจจะไม่คุ้น
ใครได้ไปขอภาพมาขึ้นเว็บให้ดูกันหน่อยนะครับ By: อ.โจ้ August 13, 2009 22:41
Message 2: นับเหยี่ยวที่ประจวบนี่เห็นนับกันมาหลาย generation (นักศึกษา) กันเลยทีเดียว เมื่อเริ่มเป็น project ใหญ่ขึ้นแล้วน่ายินดีและ น่าสนใจมากต่ะ cheers....!
By: dumbodung August 13, 2009 22:53
Message 3: เทศกาลนับเหยี่ยวที่ประจวบฯนี่ถือเป็นงานระดับโลกเลยนะครับ นักดูนกจากทั่วโลกมากันตรึม
เพราะลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นคอคอด บีบให้เหยี่ยวต้องบินผ่านจุดแคบๆตรงนี้
(เหยี่ยวอพยพโดยอาศัยกระแสลมร้อนจากแผ่นดินช่วยในการลอยตัวครับ เลยไม่ค่อยไปบินเหนือทะเลเท่าไหร่)
งานไม่โหดเท่าไหร่หรอกครับ นั่งดูอยู่กับที่ ไม่ได้เดินป่าที่ไหน
เด็กมหิดลทำได้สบาย ๆ ขอแค่มีความตั้งใจ
------------------------------------------------------
ภาพบรรยากาศจากจุดนับเหยี่ยวเขาเรดาร์ ปี 50 ครับ
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=128453
สรุปผลการนับเหยี่ยวอพยพช่วงต้นฤดูหนาว ประจำฤดูกาล 2551/52
ณ เขาเรดาห์ ต.บ้านไชยราช อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
ระหว่างวันที่ 27-28 กันยายน และ 6 ตุลาคม ? 9 พฤศจิกายน 2551 รวมทั้งสิ้น 37 วัน
ทำการนับระหว่างเวลา 08.00น.-17.00น.
ได้ผลดังนี้
เหยี่ยวอพยพที่พบมีจำนวนทั้งสิ้น 20 ชนิด 129,123 ตัว สามารถจำแนกชนิดได้ 127,132 ตัว และไม่สามารถจำแนกชนิดได้ 1,991 ตัว
เหยี่ยวอพยพที่พบมากที่สุด 5 ลำดับแรก เรียงตามลำดับ ได้แก่
1.เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ 81,315 ตัว
2.เหยี่ยวหน้าเทา 24,436 ตัว
3.เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน 10,130 ตัว
4.เหยี่ยวผึ้ง 8,049 ตัว
5.เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น 1,655 ตัว
เหยี่ยวชนิดอื่นๆ ที่พบได้แก่
เหยี่ยวออสเปรย์ 20 ตัว,
เหยี่ยวกิ้งก่าสีน้ำตาล 23 ตัว,
เหยี่ยวดำ 68 ตัว,
เหยี่ยวนิ้วสั้น 1 ตัว,
เหยี่ยวรุ้ง 157 ตัว,
เหยี่ยวทุ่งพันธุ์เอเชียตะวันออก 20 ตัว,
เหยี่ยวด่างดำขาว 12 ตัว,
เหยี่ยวนกเขาชิครา 1,199 ตัว,
เหยี่ยวนกกระจอกใหญ่ 2 ตัว,
เหยี่ยวทะเลทราย 6 ตัว,
เหยี่ยวทะเลทรายพันธุ์เสต็ป 6 ตัว,
นกอินทรีปีกลาย 6 ตัว,
นกอินทรีเล็ก 10 ตัว,
เหยี่ยวเคสเตรล 5 ตัว,
เหยี่ยวฮอบบี้พันธุ์ยุโรป 5 ตัว
และ เหยี่ยวเพเรกริน 7 ตัว
วันที่พบเหยี่ยวมากที่สุดคือวันที่ 27 ตุลาคม นับจำนวนเหยี่ยวได้ 28,354 ตัว และช่วงเวลาที่พบเหยี่ยวมากที่สุดคือระหว่าง 11.00-12.00น. และ 15.00-16.00 น. (ระหว่าง 6 ตุลาคม ถึง 9 พฤศจิกายน 2551) ซึ่งนับจำนวนเหยี่ยวได้ 559 ตัว/ชั่วโมง
สามารถดูรายละเอียดได้ที่
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=raptorcount
--------------------------------------------
ถ้าเป็นนักดูนก แค่เห็นรายชื่อก็ซี๊ดแล้ว
ว่ากันเป็นหลักแสนตัวเลยทีเดียว
ปล. ขอบคุณอจ.โจ้ที่ทำลิงค์ให้ครับBy: SM August 14, 2009 01:22
Message 4: ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้เว็บบอร์ดคงจะเคยเห็นผมโพสต์รูปนกอันดับ 5 เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่นที่ยังไม่โตเต็มที่มาหลงทางมาติดอยู่ในห้องแล็บที่ศาลายา ก่อนหาทางบินชนนู่นชนนี่แล้วออกไปได้สำเร็จ ดูได้ในกระทู้นี้
http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi/MUBIO_Webboard.php?TopicID=902&Action=ViewTopic&Lang=Eng
เจ้าตัวนี้มาที่ศาลายาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2551 ไม่แน่ใจว่าถูกนับมารึยัง แต่มันมาเซ็นชื่อที่ห้องแล็บศาลายาเรียบร้อยแล้ว
หวังว่าคงไม่มีนกตัวไหน บินโฉบไปโฉบมาเพื่อให้โดนนับหลายรอบนะ By: อ.โจ้ August 14, 2009 06:10
Message 5: ไม่รู้เป็นไร อ่านกระทู้นี้แล้วหน้าน้องแอน น้องแก่น ลอยเด่นเป็นสง่าขึ้นมาเรย 555+By: Halley August 14, 2009 17:40
Message 6: เห็นหน้าน้องเล้งมากกว่าอ่ะ By: ครึ่งชีวิต August 14, 2009 19:02
Message 7: อย่างเล้ง...คงไปกินเหยี่ยว มากกว่านับเหยี่ยว
เป็นนักล่านกล่าเนื้ออีกที :PBy: Halley August 14, 2009 19:18
Message 8: ขอบคุณค่ะพี่ฮัลเล่ย์ที่นึกถึงกัน
ปี 51 แอนก็พึ่งไปนับมาเอง
จะบอกว่าเหนื่อยมากเลยแหละ
แต่ก็เป็นประสบการณ์ ขอแอบบอกว่าแยกชนิดยากมาก
เอาใหม่ ปีนี้ไปอีก ใครจอยกันบอกด้วยนะ
ไป train ให้แม่นเลยBy: fidelius August 14, 2009 22:00
Message 9: คาดว่า ถ้าเหยี่ยวเห็นหน้าเล้ง
อาจจะเลิกอพยพมาเลยก็ได้นะ 555+
แต่โครงการน่าตื่นเต้นดีจังBy: lukpla August 14, 2009 22:04
Message 10: http://thairaptorgroup.com
เว็บของกลุ่ม TRG ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องเหยี่ยวของอาจารย์ต้นค่ะ
By: fidelius August 14, 2009 22:07
Message 11:
กลุ่มศึกษาเหยี่ยวและนกอินทรีในประเทศ ไทย จะจัดงาน "สัมมนาประสาเหยี่ยว" ประจำปี 2552
เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกชนิดนกล่าเหยื่อ และข้อมูลการสำรวจนกล่าเหยื่อสู่สาธารณชน
งานนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 13 กันยายน 2552 ณ ห้องบรรยาย 1 อาคารเรียนและปฏิบัติการ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
เนื้อหาการบรรยายในช่วงเช้าจะเป็นพื้นฐานสำหรับมือใหม่ และกลางเก่ากลางใหม่ เพื่อรื้อฟื้นความรู้
ส่วนในภาคบ่ายเนื้อหาจะเข้มข้นขึ้น เช่น เรื่องของชุดขนและการผลัดขนในนกล่าเหยื่อ
ปิดท้ายด้วยเทคนิคการถ่ายภาพ
นอกจากการบรรยายแล้ว ภายในงานจะมีการออกร้านจำหน่ายอุปกรณ์ดูนก หนังสือ รวมทั้งของที่ระลึกต่างๆด้วย
นักดูนก นักถ่ายภาพนก และท่านผู้สนใจสามารถร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นครับ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049 By: SM August 17, 2009 17:40
Message 12: เป็น Side Event ของงานนับเหยี่ยวที่น่าสนใจมั่ก
ผมคนนึงล่ะที่ไม่พลาดแน่
By: SM August 17, 2009 17:44
Message 13: ชอบหัวข้อ Advance Birding ครับ ยังไงฝาก SM กลับมาสรุปย่ออะไรดีๆเผื่อแผ่คนอื่นด้วยแล้วกันBy: อ.โจ้ August 17, 2009 20:56
Message 14: อืม...ขอติดสอยห้อยตามพี่ SM ไปด้วยคนครับ :DBy: Halley August 17, 2009 21:06
Message 15: ได้เลย ฮัลเล่ย์คุง By: SM August 18, 2009 00:14
Message 16: ไปแบบไม่ครบทริปได้ด้วยเหรอคะ
น่าสนใจๆๆ
ต่อเนื่องสักอาทิตย์นึงน่าจะพอไหวไหมคะ
ไปลองทริปเต็ม51วันกลับมาสงสัยต้องล่าเหยี่ยวเป็นอาหาร(เพราะโดนเชิญให้หยุดยาวตลอดชีพจากงานประจำ) ซะงั้น - -"โดย: CB#03 วันที่ 25 สิงหาคม 2552 12:24 น.
Message 17: ^
555+
ขอเข้ามาขำBy: Halley August 25, 2009 12:32
Message 18: ไปแบบไม่ครบทริปได้ด้วยเหรอคะ
น่าสนใจๆๆ
ต่อเนื่องสักอาทิตย์นึงน่าจะพอไหวไหมคะ
ไปลองทริปเต็ม51วันกลับมาสงสัยต้องล่าเหยี่ยวเป็นอาหาร(เพราะโดนเชิญให้หยุดยาวตลอดชีพจากงานประจำ) ซะงั้น - -"โดย: CB#03 วันที่ 25 สิงหาคม 2552 12:51 น.
Message 19: เรียนจบแล้ว แต่อยากไปไม่ได้หรอคะ TT__TTBy: love Thailand September 2, 2010 18:46
Message 20: เรียนจบแล้ว แต่อยากไปไม่ได้หรอคะ TT__TTBy: love Thailand September 2, 2010 18:46
[Back to top... ]
Post Reply to this Topic
Special Tags:
Bold = [b]Bold[/b]
Gallus gallus domesticus = [i]Gallus gallus domesticus[/i]
WARNING! = [font color=#FF0000]WARNING![/font]
http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi = [url]http://www.sc.mahidol.ac.th/scbi[/url]
scnop@mahidol.ac.th = [email]scnop@mahidol.ac.th[/email]
= //Angry
= //Grin
= //Kidding
= //Laugh
= //Sad
= //Wow
= //Smile
= //Cool
= //Huh
= :-D
Insert picture [img]http://www.somewhere.com/somefile.jpg[/img]
Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University
Rama VI Road, Rachadhavi, Bangkok 10400 Thailand
Tel. (+66) 2201-5250 Fax. (+66) 2354-7161
Webmaster: scnop@mahidol.ac.th